จะเป็นเว็บมาสเตอร์ (WEB MASTER) แล้วนะ

จะเป็นเว็บมาสเตอร์ (Web master) แล้วนะ

อย่ากลัวว่าจะทำไม่ได้ ต้องรู้อะไรบ้าง

:: กรณีทำเว็บคนเดียว ::

หลาย ๆ หัวข้อข้างต้น สามารถหาซื้อหนังสือตามร้านหนังสือทั่วไปมาอ่านได้

เริ่มต้นอยากมีเว็บควรทำอย่างไร

  1. ตรวจสอบชื่อเว็บ (อาจทำทีหลังได้) ว่ามีใครจองแล้วหรือยัง
  2. ประเมินว่าจะเป็นเว็บฐานข้อมูล (Database) เพื่อการค้นหาหรือไม่ หรือเป็นเว็บที่ข้อมูลไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง (Static Web)
    - Database Web สามารถเขียนเว็บโดยใช้ภาษา ASP, PHP
    - Static Web สามารถเขียนเว็บโดยใช้ HTML
  3. กำหนดหัวเรื่อง หรือ contents ออกแบบผังงาน (Flow chart) การสร้างเว็บ มีอะไรบ้าง
    ตัวอย่าง: เว็บเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ อาจประกอบด้วย หัวข้อย่อยคือ
    1. หน้าแรก
    2. รายการเลือก เพื่อการแสดงผล
    3. แนะนำตัวนักเรียน
    4. แนะนำโรงเรียนวัดบางกะพ้อม (คงลาภยิ่งประชานุสรณ์)
    5. แนะนำวัดบางกะพ้อม
    6. เรื่องที่นักเรียนสนใจเป็นพิเศษ จำนวน 2 – 3 หน้า
    7. หน้ารวมการเชื่อมโยง (Link) เว็บไซต์ (Web site) ที่นักเรียนสนใจ ติดต่อผู้ดูแลระบบ
  4. กำหนดการเชื่อมโยง (Link) ในแต่ละหน้าว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง
  5. เตรียมการสืบค้น เรียบเรียงข้อมูล เพื่อรอจัดทำ

            สำหรับภาษาพื้นฐานที่ทุก ๆ คนควรทราบเพื่อนำไปใช้ในการสร้าง Web Page ได้อย่างมืออาชีพ นั่นก็คือ HTML (Hyper Text Markup Language) ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาในบทต่อ ๆ ไป และถ้านักเรียนได้ลองศึกษาอย่างตั้งใจแล้ว นักเรียนจะสามารถสร้าง Web ของตัวเอง ได้อย่างแน่นอน... โดยบุคคลที่สร้าง Web และคอยจัดการ web เรียกว่า Webmaster

ลำดับขั้นตอนโดยรวมในการสร้าง Web และแสดงผลงาน

  1. จัดสร้าง Web Page ด้วยภาษา HTML ไฟล์ที่ได้ส่วนใหญ่มีนามสกุล .htm, .html
  2. จดทะเบียนชื่อ Web เช่น www.it-guides.com ปัจจุบันสามารถจดชื่อ web site โดยใช้บริการในประเทศไทยได้ เช่น http://www.siamdomain.com เป็นต้น คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ชื่อ web หรือที่เราเรียกเป็นภาษาสากลว่า Domain Name หรือ ตรวจสอบชื่อ domain ว่าถูกจองไว้แล้วหรือยัง
  3. เช่าพื้นที่ในการฝาก Web กับบริษัทที่ให้บริการ (Web Hosting) อาจหาบริการฝาก Web ฟรี ก็ได้
  4. โอนย้ายข้อมูลไปยัง Web Hosting หรือที่เราเรียกว่า Transfer
  5. โฆษณา หรือแลกเปลี่ยน Link กับ Web Site อื่น ๆ เพื่อเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ Web site
  6. ปรับปรุง Web อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คนเข้ามาเยี่ยมชมไม่รู้สึกเบื่อ

รู้จักตัวจริงของ Web Site , Web Page

           Web Site , Web Page ทั้งหลายที่เห็นกันบนอินเทอร์เน็ตนั้น ล้วนเป็นเอกสารชนิดหนึ่งซึ่งถูกแสดงผลด้วยโปรแกรมแสดงผลข้อมูลบนระบบเครือข่าย ที่เรียกว่า โปรแกรม Web Browser เราเรียกเอกสารที่ถูกสร้างขึ้นนี้ว่า เอกสาร HTML เอกสารชนิดนี้ เหมือนกับเอกสารที่เขียนด้วย Text editor ธรรมดาทั่วไป

           โดยเรียกการเขียนคำสั่งของภาษา HTML เพื่อการแสดงผลบน Web browser ว่า source code และสามารถเรียกดู source code ได้จาก Web browser ดังนี้

           จาก Microsoft Internet Explorer ใช้ Menu คำสั่ง View เลือกรายการ Source จะพบว่า โปรแกรมจะปรับเปลี่ยนรูปแบบ การแสดงผล เป็นคำสั่งของภาษา HTML บน Text Editor คือโปรแกรม Notepad ดังตัวอย่าง

           จากตัวอย่าง จะพบว่าภาษา HTML ที่แสดงให้เห็น ก็คือเอกสารข้อความธรรมดา ๆ ที่มีการแสดงรูปแบบใน 2 ลักษณะ คือ ข้อความที่อยู่ในเครื่องหมาย <…..> และข้อความที่อยู่นอกเครื่องหมาย <……>โดยเครื่องหมายนี้มีชื่อเรียกว่า แท็ก (TAG) ซึ่ง Tag จะใช้กำกับแต่ละส่วนของเอกสาร เพื่อเป็นคำสั่งบอกให้ Web Browser รู้ว่า ส่วนนั้น ส่วนนี้จะต้องแสดงผลอย่างไร หรือจะต้องทำอย่างไรหากมีการคลิกเมาส์ ตรงบริเวณที่กำหนด เป็นต้น

กลับขึ้นข้างบน

หน้าตาของ Tag เป็นอย่างไร

           แท็ก (Tag) คือป้ายกำกับข้อความ มีลักษณะตายตัวคือจะเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย

           <    (left-Angle Bracket) เป็นเครื่องหมายเปิดก่อนตามด้วยคำหรือข้อความที่จะทำหน้าที่เป็นคำสั่ง เพื่อสั่งให้เว็บบราวเซอร์ (Web browser) ทำงาน
           >    (Right- Angle Bracket) เป็นส่วนปิดท้ายคำสั่ง คำหรือข้อความ ที่อยู่ภายใน เครื่องหมายทั้งสองนี้ เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) จะถือว่าเป็นคำสั่ง และจะไม่ถูกแสดงให้ผู้ท่องเว็บเห็น

           โดยทั่วไปแล้วแท็ก (Tag) จะมีเป็นคู่เสมอ เช่น <CENTER> ..... </CENTER> ตัวแรกเรียกว่าแท็ก (Tag) เปิด ส่วนตัวหลังจะเริ่มด้วยเครื่องหมาย / และตามด้วยชื่อแท็ก (Tag) นั้นและเรียกว่าแท็ก (Tag) ปิด ขอบข่ายของแท็ก (Tag) หรืออิทธิพลของคู่แท็ก (Tag) จะเริ่มต้นและสิ้นสุด ภายใต้แท็ก (Tag) นั้น ๆ คู่แท็ก (Tag) อาจซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ลึกลงไปได้ แต่คู่แท็ก (Tag) จะต้องไม่ซ้อนทับกัน เช่น

ตัวอย่างที่ถูก <H1> <CENTER> ข้อความ </CENTER> </H1>
ตัวอย่างที่ผิด <H1> <CENTER> ข้อความ </H1> </CENTER>

           อย่างไรก็ดี แท็ก (Tag) บางชนิดอาจไม่มีคู่ปิดก็ได้ เช่น แท็ก (Tag) <BASEFONT> เป็นต้น แท็ก (Tag) ชนิดหลังนี้มักจะมีผลครอบคลุมทั้งเอกสาร

ส่วนขยาย (Attribute) ของแท็ก (Tag)

           แท็ก (Tag) ต่างๆ ที่ใช้บนเอกสาร HTML อาจมีส่วนขยาย เพื่อเพิ่มรายละเอียดของแท็ก (Tag) นั้น ๆ ได้ด้วย โดยส่วนขยาย จะถูกระบุไว้ที่แท็ก (Tag) เปิดเสมอ เช่น
           เอกสารบรรทัดที่กำลังอ่านนี้ ใช้คู่แท็ก (Tag) FONT ที่มีส่วนขยาย ดังนี้

<FONT FACE="FreesiaUPC" COLOR="#FEAE67">ข้อความ</FONT>

ส่วนขยายของแท็ก (Tag) ตามตัวอย่าง ให้รายละเอียดสองอย่างคือ แบบของฟ้อนต์ (FONT) และสีของฟ้อนต์ (FONT) เป็นต้น

รูปแบบของเอกสาร HTML เป็นอย่างไร

           รูปแบบมาตรฐานของเอกสาร HTML จะมีอยู่สองส่วน ส่วนแรกเรียกว่าส่วนหัว (Head) และส่วนที่สองเรียกว่า ส่วนตัว (Body) และทั้งสองส่วนจะต้องอยู่ภายใต้คู่แท็ก (Tag) <HTML>....</HTML> เสมอ

รูปแบบเอกสาร HTML ที่สมบูรณ์ ควรจะมีคู่แท็ก (Tag) มาตรฐานกำกับ ดังนี้

คำขยายความ

           1) ข้อความหรือแท็ก ( Tag ) ใด ๆ ที่อยู่ระหว่างคู่แท็ก ( Tag ) <HEAD> จะเป็นส่วนของ การบรรยายส่วนหัวของเอกสาร

           2) ข้อความหรือแท็ก ( Tag ) ใด ๆ ที่อยู่ระหว่างคู่แท็ก ( Tag ) <BODY> จะเป็นส่วนของ เนื้อหาของเอกสาร

 

 
กลับขึ้นข้างบน
หน้าต่อไป